แนะนำวิธีวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ใน ฟิตเนส สำหรับ มือใหม่

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ แนะนำวิธีวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ใน ฟิตเนส สำหรับ มือใหม่

แนะนำวิธีวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ใน ฟิตเนส สำหรับ มือใหม่



ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็น อุปกรณ์การเล่น พื้นฐานใน ฟิตเนส ( Fitness ) ที่ทุกคนไป ออกกำลังกาย ที่ฟิตเนสที่ไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือ มือใหม่ ต้องเคยวิ่งบน ลู่วิ่ง กันแต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้ ลู่วิ่งไฟฟ้า ถูกวิธีวันนี้เราจะมาแนะนำ ลู่วิ่งไฟฟ้า อย่างถูกวิธีกัน

แนะนำวิธีวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า ใน ฟิตเนส สำหรับ มือใหม่

ก่อนอื่นต้องก่อนบอก ว่าการ วิ่ง ออกกำลังกาย เราสามารถเลือก ออกไป วิ่ง นอกบ้าน หรือเข้า ฟิตเนส ( Fitness ) เพื่อไป วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ก็ได้ เราเชื่อว่าหลาย ๆ คน ส่วนใหญ่ อาจจะชอบการ วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า มากกว่า เพราะเราจะ วิ่ง ในจังหวะที่ใช้ความเร็ว ที่เท่ากัน อย่างสม่ำเสมอ ต่างจากการออกไป วิ่ง เองข้างนอก ที่เราต้องออกแรง วิ่ง ให้จังหวะ เท่ากันเสมอ วันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีการ วิ่ง บน ลู่วิ่งไฟฟ้า ยังไงให้ทุกคน วิ่ง อย่างสนุกและปลอดภัย มาฝากกัน

 

อยากแรกเลยที่คน ออกกำลังกาย มือใหม่ ควรทำความรู้จัก กับสิ่งที่อยู่บนหน้าจอของ ลู่วิ่ง มีอะไรบ้าง?

สำหรับ มือใหม่ หัด วิ่ง อาจจะยังไม่รู้กัน ว่าบนหน้าจอของ ลู่วิ่ง มีอะไรบ้าง ที่เราควรรู้ เรามาทำความรู้จัก กันก่อนดีกว่า ว่าบนหน้าจอนั้น มีอะไรกันบ้าง หลัก ๆ ที่เราควรรู้คือ

 

  1. ระยะทาง เมื่อ วิ่ง บน ลู่วิ่ง ก็อยากจะรู้ใช่กันไหม ว่าตัวเราเอง วิ่ง หรือ เดินเร็ว ไปกี่กิโลแล้ว ซึ่งโปรแกรมนี้ จะมีให้ทุกรุ่นเลย ก็ว่าได้
  2. เวลา หลังจากที่เราต้องรู้ ระยะทางแล้ว เราต้องรู้ด้วยว่า เราใช้เวลา วิ่ง ไปนานแค่ไหน ซึ่งเราจะดูได้จากตัวเลข ตรงนี้เลยว่าเรา วิ่ง ไปกี่ชั่วโมง หรือกี่นาที แล้ว
  3. แคลอรี่ อันนี้ก็คงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ทุกคนอยากรู้ เลยใช่ไหม ว่าวันนี้เรา วิ่ง ไปแล้ว ลดลงไปได้ทั้งหมดกี่ แคลอรี่ ถ้าอยากรู้ บนหน้าจอ ลู่วิ่ง ก็มีบอกเหมือนกัน ว่าวันนี้เราลดไปได้ เท่าไหร่แล้ว
  4. ชีพจร ตัวนี้มีเอาไว้เพื่อวัด อัตราการเต้นหัวใจ ระหว่างการ วิ่ง และก่อนจะเลิก วิ่ง เพราะระหว่าง วิ่ง กับตอนจะเลิก วิ่ง อัตราการเต้นหัวใจ ของเราจะไม่เท่ากัน ฉะนั้นเราไม่สามารถ วิ่ง เสร็จแล้วหยุดเดิน ลงมาได้เลย ดังนั้นตัวนี้มีเอาไว้วัดว่า หัวใจของเรา เต้นต่ำกว่า 100 ครั้ง ต่อนาที หรือยัง
  5. ความเร็ว เวลาที่เรา วิ่ง เราคงไม่ วิ่ง จังหวะเดียว หรือเดินเร็วไปนาน ๆ กันใช่ไหม ฉะนั้นเราก็สามารถ ปรับความเร็ว ได้ตามต้องการ
  6. ความชัน อันสุดท้ายที่เราควรรู้ ก็คือการ วิ่ง ในที่ร่ม จะไม่เหมือนกัน การ วิ่ง ที่สวนสาธารณะ เราจึงไม่มีแรงต้านลม ในที่ร่ม ถ้าคนใดอยาก วิ่ง ให้เหมือน วิ่ง อยู่ข้างนอก แนะนำให้ปรับความชัน ให้อยู่ในระดับที่เรา วิ่ง แล้วไม่เหนื่อย จนเกินไป

 

  • วอร์มอัพ ก่อนจะขึ้น วิ่ง บน ลู่วิ่งไฟฟ้า ทุกครั้ง

 เริ่มง่าย ๆ ด้วยการเดินบน ลู่วิ่ง ประมาณ 5 - 10 นาที ( หรืออาจจะใช้ อุปกรณ์การเล่น อื่น ๆ ถ้ามี อย่างเช่น จักรยาน Sky Walker Cross Trainer เป็นต้น ) แล้วตามด้วย การเหยียด กล้ามเนื้อ แล้วเริ่ม ยกน้ำหนัก ด้วยท่าที่ต้องการด้วย น้ำหนักเบา ๆ เพื่อเป็นการ กระตุ้นกล้ามเนื้อ ให้พร้อมต่อการ วิ่ง และยังช่วยลดการบาดเจ็บ ได้อีกด้วย

 

  • ปรับความเอียง ความชัน เล็กน้อย

ควรตั้ง ความชัน ตัวเรา เริ่มรู้สึกคุ้นชิน กับการ ออกกำลังกาย ก่อนจะปรับ ความชัน ให้ชันขึ้นอีกนิด เพียงเท่านั้นเอง

 

  • อย่าลืมการทำ คูลดาวน์

จุดประสงค์นั้น จะตรงข้ามจากการ วอร์มอัพ ก็คือการ คูลดาวน์ นั้น เป็นการเตรียมระบบต่าง ๆ ให้กับ ร่างกาย กลับสู่สภาวะปกติ แน่นอนว่าหลัง ออกกำลังกาย ระบบต่าง ๆ ยังมีค่าสูงอยู่ อย่างเช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ฉะนั้นเราควรใช้การ คูลดาวน์ หรือเดินช้า ๆ บนลู่วิ่ง ต่ออีก นาที หรือเดินช้า ๆ จนกว่า อัตราการเต้นของหัวใจ ลดลงต่ำกว่า 100 ครั้ง ต่อนาที ก่อนออกจาก เครื่องวิ่ง ซึ่งการทำแบบนี้ ก็เหมือนเราระบายความบนลู่วิ่ง เอาไว้ที่ 1 – 2 % เพราะการ วิ่ง ในที่ร่ม จะไม่มีความต้านทาน จากแรงลม เราเลยต้องจำลองการ วิ่ง ที่ในร่ม ให้มีความเหมือนกับ เราออกไป วิ่ง ข้างนอก แน่นอนว่าถ้าใครยังไม่ วิ่ง บน ลู่วิ่ง มาก่อน อาจจะใช้ ความชัน แค่ 0 % ไปก่อน ในระยะแรก จนกว่าร้อน ออกจาก ร่างกาย ซึ่งจะช่วยป้องกัน อาการวิงเวียนศีรษะ เวลาเราลงจาก ลู่วิ่ง ได้ดี

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 ข้อดี และ ประโยชน์ ของการเล่น ฟิตเนส

เครื่องออกกำลังกาย แต่ละเครื่องใน ฟิตเนส ช่วยอะไรบ้าง

 

 



บทความที่น่าสนใจ

Playlist สำหรับการ ออกกำลังกาย ใน ฟิตเนส
7 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อไปฟิตเนสมีอะไรบ้าง