อาการบาดเจ็บ จาก ออกกำลังกาย เป็น สัญญาณอันตราย อะไรได้บ้าง

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ อาการบาดเจ็บ จาก ออกกำลังกาย เป็น สัญญาณอันตราย อะไรได้บ้าง

อาการบาดเจ็บ จาก ออกกำลังกาย เป็น สัญญาณอันตราย อะไรได้บ้าง



การ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เป็นสิ่งที่ดี  แต่ถ้าหากไม่ระวัง ก็จะทำให้บาดเจ็บได้ อาการบาดเจ็บ ก็จะจำเพาะไปในลักษณะ ของการ ออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา ของเรา และ อาการบาดเจ็บ เป็น สัญญาณอันตราย อะไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ

 

สาเหตุของการบาดเจ็บ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย คือ

1 ปัจจัยภายใน คือปัจจัยที่เกิดจากตัวเอง เช่น การอบอุ่นร่างกาย ( Warm Up ) หรือ การเตรียมความพร้อม ไม่เพียงพอ ความเหนื่อยล้าสะสม หรือ เทคนิควิธีการเล่น ในกีฬาชนิดนั้น อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ

2 ปัจจัยภายนอก เช่น สถานที่ไม่เหมาะสม อุปกรณ์ที่ใช้มีปัญหา หรือไม่เหมาะสม สภาพอากาศ ลักษณะการเล่น ของคู่ต่อสู้ หรือ คู่แข่ง เสียงเร้าจากกองเชียร์เวลาแข่ง และอุบัติเหตุ เป็นต้น

 

 

สัญญาณอันตราย ควรหยุดทันที

- บาดเจ็บที่ศีรษะ หมดสติ หรือมีอาการทาง ระบบประสาท เช่น ชักเกร็ง อ่อนแรง หรือเสียการทรงตัว

- กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อนหลุด

- บาดเจ็บบริเวณช่องอก หายใจลำบาก แน่นหน้าอกมาก

- เจ็บช่องท้อง มีอาการปวดท้องมาก อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด

- บาดเจ็บที่ตา

- มีแผลลึก เลือดออกเยอะ

- มีอาการปวดมากแม้จะอยู่นิ่ง ๆ หรือหลังการพัก การเคลื่อนไหว ของบริเวณที่บาดเจ็บ

 

เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรไปคลินิกใกล้ ๆ หรือ โรงพยาบาลทันที แต่ถ้าหากมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ปวด บวม ร้าว ที่ไม่สามารถหายได้ ด้วยการพัก และปฐมพยาบาล ภายใน 3 วัน ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

 

 

 

อาการบาดเจ็บ ที่มักจะพบบ่อย ๆ

1 ข้อเคล็ด ข้อแพลง ( Sprain )

ข้อเคล็ด ข้อแพลง ( Sprain ) เกิดจากมีการเคลื่อนไหว ของข้อมากเกินไป หรือข้อเกิดการหมุน พลิก บิด จนทำให้เนื้อเยื่อ และเอ็นยึดข้อฉีก โดยมีอาการคือ ปวด บวม เจ็บ เคลื่อนไหวได้แต่ไม่ถนัด ข้อเคล็ด ข้อแพลง ( Sprain ) ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยประคบด้วยความเย็น ภายใน 24 ชั่วโมง พันด้วยผ้ายืด แล้วยกส่วนนั้นให้สูง เพื่อลดอาการบวม หากเป็นที่แขนและไหล่ ใช้ผ้าคล้องแขน หลังจากเกิดการบาดเจ็บ 72 ชั่วโมงให้ประคบด้วยความร้อน

 

 

2 ข้อเคลื่อน ( Dislocation Of Joint )

ข้อเคลื่อน ( Dislocation Of Joint ) เนื่องจากส่วนหัว หรือ ส่วนปลายของกระดูก เคลื่อน หรือหลุดออก จากที่เดิม อาจเกิดจากการถูกดึง หรือกระชากอย่างแรง หรือเกิดร่วมกับกระดูกหัก เมื่อพบการบาดเจ็บดังกล่าว ห้ามดึงข้อให้เข้าที่เอง ควรปฐมพยาบาล โดยให้ข้อพักนิ่ง ๆ จากนั้นประคบความเย็นทันที หรือภายใน 24 ชั่วโมง อาจใช้เฝือกชั่วคราว หรือพันผ้ายืด ยกส่วนนั้นให้สูงเพื่อลดบวม หลังจากเกิดการบาดเจ็บ 72 ชั่วโมง ให้ประคบด้วยความร้อน

 

 

3 ฟกช้ำ ( Stale )

ฟกช้ำ ( Stale ) เป็นอาการที่เกิดจาก การกระแทก ทำให้มีเลือดออก ในชั้นใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อ หรือลึกลงไปถึงชั้น เยื่อหุ้มกระดูก ซึ่ง ร่างกาย ฟกช้ำ ( Stale ) ระยะแรก เมื่อเลือดยังไม่ซึมออกมาก อาจไม่พบ มีการเปลี่ยนสี ของผิวหนัง หรือ บวมขึ้น การปฐมพยาบาลของ ร่างกาย ฟกช้ำ ( Stale ) ให้ใช้ของเย็นประคบ บริเวณที่ถูกกระแทก อย่าเพิ่งถูนวด หลัง 24 ชั่วโมงแล้วจึงใช้ของร้อน และถูนวดเบา ๆ ได้ เพื่อให้เลือดที่คั่งกระจาย และดูดซึมกลับได้เร็ว

 

 

4 ตะคริว ( Cramp )

เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทั้งจากกล้ามเนื้อเอง ที่ไม่ได้เตรียมพร้อม ก่อนการเล่นกีฬา ทำให้มีของเสียคั่งจากการทำงาน ของกล้ามเนื้อ และจากสาเหตุภายนอก เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ ความหนาว ฝน ความชื้น มีผลให้กล้ามเนื้อ อยู่ในสภาพไม่พร้อม การเตรียมพร้อม หรืออบอุ่นร่างกาย ก่อนเล่นกีฬาจะช่วยให้ไม่ เกิดตะคริว ( Cramp ) ได้ง่าย ทั้งนี้ การปฐมพยาบาล ทำได้โดยใช้ของร้อน ประคบหรือถูนวดเบา ๆ จะช่วยให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อคลาย และมีกำลังยึดหด และใช้กำลังยึดกล้ามเนื้อ ตามทิศทาง การทำงาน ของกล้ามเนื้อ เช่น หากเป็นตะคริวที่น่อง จะมีอาการหดเกร็ง และปลายเท้าเหยียด ให้ใช้กำลังค่อย ๆ เพิ่มกำลังดันปลายเท้าเข้าหาเข่า จะช่วยเหยียดกล้ามเนื้อน่องได้ และลดอาการเป็นตะคริว ( Cramp )

 

 

5 กล้ามเนื้อฉีก ( Muscle Strain )

กล้ามเนื้อฉีก ( Muscle Strain ) เกิดจากออกแรงเกินกำลัง ทำให้กล้ามเนื้อยึดตัวมากเกินไป อาการบาดเจ็บบริเวณที่มีการฉีกขาด ในระยะแรกอาจพบมีรอยบุ๋มลงไป เนื่องจากกล้ามเนื้อ ส่วนต้น และปลาย ของอันที่ขดหดตัวกลับ เมื่อถูกบริเวณนั้นจะเจ็บมาก และไม่สามารถ ใช้กล้ามเนื้อนั้นได้ การปฐมพยาบาล กล้ามเนื้อฉีก ( Muscle Strain ) ทำได้โดยพักการใช้กล้ามเนื้อ ใช้ของเย็นประคบภายใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อช่วยไม่ให้มีเลือดออกมาก ในกล้ามเนื้อ หากมีปลาสเตอร์ ให้ใช้ติดจากส่วนบน ของกล้ามเนื้อ มายังส่วนล่างหลาย ๆ ชิ้น แล้วพาดขวางอีกหลาย ๆ ชิ้น แล้วใช้ผ้ายึดรัดอีกชั้นหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

รวมเคล็ดลับบังคับตัวเองให้ ออกกำลังกาย

อาหารที่ไม่แนะนำให้กินก่อนไปออกกำลังกาย



บทความที่น่าสนใจ

เครื่องออกกำลังกาย ฟิตเนส ( Fitness ) ที่ช่วยฟิตหุ่นล่ำ
เทคนิค ปั่นจักรยาน ด้วย เครื่องปั่นจักรยาน ใน ฟิตเนส ( Fitness )



A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: