ในวันที่ป่วย ออกกำลังกาย ได้ไหม

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ ในวันที่ป่วย ออกกำลังกาย ได้ไหม

ในวันที่ป่วย ออกกำลังกาย ได้ไหม



สำหรับคนที่ชอบ ออกกำลังกาย ในวันที่ป่วยขึ้นมาก็ยังอยากที่จะเข้า ฟิตเนส ไปออกกำลังกาย เหมือนเดิม เพราะเคยทำจนชิน มาดูกันว่าในวันที่ป่วยเราจะสามารถ ออกกำลังกาย ได้ไหม

 

     การ ออกกำลังกาย เป็นประจำ ช่วยน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ แต่ในบางสถานการณ์ เช่น เมื่อป่วยไข้ คนส่วนใหญ่มักไม่แน่ใจว่า ออกกำลังกาย ได้หรือไม่ หาก ออกกำลังกาย ตอนป่วย จะทำให้อาการแย่ลงหรือเปล่า อย่างนั้นเราไปหาคำตอบกันเลย

 

ออกกำลังกาย ตอนป่วย ทำได้หรือไม่ ?

     ประโยชน์ข้อหนึ่งของการ ออกกำลังกาย ก็คือ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปราการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บของร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่หากคุณกำลังป่วย หรือไม่สบาย การ ออกกำลังกาย อาจไม่ได้ส่งผลดีกับสุขภาพเสมอไป อาการเจ็บป่วยบางประการสามารถ ออกกำลังกาย ได้ ในขณะที่บางอาการควรงด ออกกำลังกาย และควรพักผ่อนจนกว่าจะหายดี ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ใช้ “คอ” เป็นเกณฑ์ในการให้คำแนะนำว่า อาการป่วยไข้ที่คุณเป็นนั้นสามารถ ออกกำลังกาย ได้หรือไม่ หากอาการเจ็บป่วยของคุณเกิดขึ้นที่อวัยวะซึ่งอยู่เหนือลำคอขึ้นไป แบบไม่รุนแรง คุณสามารถ ออกกำลังกาย เบา ๆ ได้ และคุณควรงด ออกกำลังกาย ตอนป่วยเด็ดขาด หากอาการป่วยเกิดขึ้นที่อวัยวะต่ำกว่าลำคอลงมา

 

อาการป่วยที่ยัง ออกกำลังกาย ได้

  • โรคไข้หวัด ( COMMON COLD )

     โรคไข้หวัด เกิดจากการที่ร่างกายเราติดเชื้อไว้รัส ส่วนใหญ่จะอยู่ที่คอ ( หวัดลงคอ ) และจมูก ( มีน้ำมูก ) ความแข็งแรงของผู้หญิงแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น บางคนอาจจะมีอาการแค่ มีน้ำมูกไหล ปวดหัวนิดหน่อย ไอ และจาม เป็นต้น แต่บางคนอาการอาจจะหนักกว่านี้ เช่น อุณภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

ถ้าอาการของไข้หวัดไม่หนักมาก เช่น ไอนิดหน่อย ไม่ปวดหัว น้ำมูกไหลแค่นิดเดียว ฯลฯ ถ้าเราคิดว่ามีแรงพอ การออกไปวิ่ง หรือ เล่นเวท เทรนนิ่ง ( Weight Training ) ที่ ฟิตเนส ก็ยังสามารถทำได้อยู่

     ข้อควรระวังอีกอย่าง คือ เชื้อไวรัสจากตัวเรา อาจจะแพร่ไปหาคนอื่นได้ เพราะฉะนั้น เราต้องดูแลความสะอาดทั้งตัวเรา และอุปกรณ์ให้ดีด้วย เช่น ใช้ผ้าเช็ดอุปกรณ์หลังเล่นเสร็จ ล้างมือบ่อยขึ้น และซื้อหน้ากากอนามัย  ( Mask ) มาใส่ เผื่อเวลาไอ หรือจาม เชื้อไวรัสจะได้แพร่กระจายได้น้อยลง

  • ปวดหู ( EARACHE )

     ปวดหู ( Earache ) อาจเกิดกับหูทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน หรือข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดจะอยู่ข้างในรูหู และอาจจะทำให้เรารู้สึกเจ็บ หรือแสบร้อนได้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ( แต่มันน่ารำคาญมาก )

     อาการปวดหูนั้น ส่วนใหญ่จะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะหูเด็กมักจะติดเชื้อ แต่สำหรับในกรณีผู้ใหญ่นั้น อาการเริ่มต้นจะเกิดจากการเจ็บคอ และลามมาหูมากกว่า ( Referred Pain )

     ดังนั้น ถ้าใครมีอาการปวดหู และอยาก ออกกำลังกาย พยายามยืนขาเดียว เพื่อทดสอบร่างกายก่อนว่าเราเวียนหัวไหม และทรงตัวไม่อยู่หรือเปล่า เพราะถ้าทรงตัวไม่อยู่ แต่ดันทุรังออกไปวิ่ง อาจจะบาดเจ็บ หรือล้มกลางทางได้ อีกอย่างรูปแบบการ ออกกำลังกาย ที่ทำให้เกิดแรงดันที่บริเวณไซนัส และคอ ควรเลี่ยงไปก่อน

  • คัดจมูก ( STUFFY NOSE )

     อาการคัดจมูก ( อย่างเดียว ) ไม่มีอันตรายต่อร่างกายเลย แต่มันอาจจะกวนใจ และน่ารำคาญมากกว่า ถ้าเรามีอาการคัดจมูก เจ็บที่หน้าอก และไอบ่อย ๆ ด้วย อย่าฝืนที่จะ ออกกำลังกาย ให้นอนพักผ่อน ต้มซุปไก่ทานที่บ้านดีกว่า

     ช่วงที่มีอาการคัดจมูกอยู่ ควรเลี่ยงการ ออกกำลังกาย ที่มีความเข้มข้นสูงไปก่อน และเลือก ออกกำลังกาย แบบคาร์ดิโอที่มีความเข้มข้นต่ำดีกว่า เช่น เดินเร็ว และปั่นจักรยาน เป็นต้น

  • เจ็บคอ ( SORE THROAT )

     อาการเจ็บคอ มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสที่มากับโรคไข้หวัด ในกรณีนี้ขอแนะนำว่า ถ้าเราเป็นไข้ตัวร้อน ไอมากขึ้น กลืนน้ำลายยาก ควรงดการ ออกกำลังกาย ไปก่อน เพราะอาการเจ็บคออาจจะแย่ลงกว่าเดิมได้ แต่ถ้าเราแค่เจ็บคอไม่มาก และมีอาการข้างเคียงจากไข้หวัดนิดหน่อย เช่น เหนื่อยง่าย การ ออกกำลังกาย ที่มีความเข้มข้นต่ำ ก็ยังทำได้อยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ควรจะลดความเข้มข้น และเวลาในการ ออกกำลังกาย ลงด้วย และอย่าลืมดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายกำจัดเชื้อไว้รัสได้เร็วขึ้นด้วย

 

อาการป่วยที่อย่าฝืน ออกกำลังกาย

  • ไข้หวัดใหญ่
  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ไอมีเสมหะ
  • ไอแบบมีเสียงฟืดฟาด หรือเสียงหวีด ( Wheezing cough )
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย

 

ป่วยอยู่ ออกกำลังกาย อย่างไรดี ?

      ในระหว่างเจ็บป่วย คุณควรลดระดับความเข้มข้นในการ ออกกำลังกาย ลง หันมา ออกกำลังกาย เบา ๆ ไม่ควรหักโหม เช่น เดินแทนวิ่ง เล่นโยคะแทนการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการยกน้ำหนัก เพื่อให้ร่างกายสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไป หากคุณรู้สึกว่า ออกกำลังกาย แล้วอาการแย่ลง อย่าฝืน ออกกำลังกาย ต่อ ควรหยุดพักทันที รอจนหายดีแล้วจึงค่อยกลับมา ออกกำลังกาย อีกครั้ง

 

อยากไป ออกกำลังกาย ที่ ฟิตเนส ตอนป่วย ?

     หากคุณป่วย เช่น เป็นไข้หวัด ทางที่ดีควรงดไป ออกกำลังกาย ที่ ฟิตเนส เพราะ ฟิตเนส ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และเชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย แต่หากจำเป็นต้อง ออกกำลังกาย ตอนป่วยที่ ฟิตเนส จริง ๆ ควรล้างมือให้สะอาด เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งก่อน และหลังใช้ รวมไปถึงเช็ดมือด้วยเจลล้างมือระหว่าง ออกกำลังกาย หรือหลังไอจามทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองติดเชื้อ หรือแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น

 

สามารถกลับไป ออกกำลังกาย ตามปกติได้เมื่อไร ?

     สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัด หากไม่มีอาการแทรกซ้อน ไข้หวัดของคุณจะหายดีภายในเวลา 7 วัน แต่หากเป็นไข้หวัดใหญ่อาจต้องใช้เวลารักษาตั้งแต่ 10 วันถึง 2 สัปดาห์ หรือถ้าเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ หรือที่เรียกว่า โพรงจมูกอักเสบ อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป กว่าอาการป่วยจะหายสนิท แม้แต่อาการไอรุนแรง หรือไอแบบมีเสมหะก็สามารถเป็นติดต่อกันได้นานหลายสัปดาห์หากไม่รักษาให้หายสนิท ดังนั้น หากมีอาการป่วยไข้ดังกล่าว คุณควรพักรักษาตัว กินยาตามที่คุณหมอสั่ง และพักผ่อนให้มาก ๆ เมื่ออาการป่วยหายดี ร่างกายฟื้นฟูเต็มที่แล้วจึงค่อยกลับไป ออกกำลังกาย ตามรูปแบบปกติ

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

แรงบันดาลใจในการ ออกกำลังกาย ก็สำคัญ

เคล็ดลับเติมไฟ ในการ ออกกำลังกาย



บทความที่น่าสนใจ

ไป ฟิตเนส ( Fitness ) แบบมืออาชีพ เห็นผลดีที่สุด เป็นยังไง ไปดูกัน
5 วิธีฟื้นฟูร่างกาย หลังเข้าฟิตเนส