เล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อย่างไร ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

Share : facebook_share google_share
line_share
twitter_share messenger_share

บทความ เล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อย่างไร ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

เล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อย่างไร ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ



ความสะดวกสบาย และความครบครัน ที่สามารถตอบสนอง ทุกความต้องการ ของคนรัก สุขภาพ ที่ทำให้ สถานออกกำลังกาย หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ฟิตเนส ( Fitness ) ที่ได้รับความนิยม มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน

เล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อย่างไร ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

แต่ถึงแม้ จะเป็นการ ออกกำลังกาย ในร่ม ที่ไม่มีการปะทะ และ ฟิตเนส ( Fitness ) ส่วนใหญ่ จะมี เทรนเนอร์ ประจำ ซึ่งหลายคน ยังคงต้องมา พบแพทย์ เนื่องจากมี อาการบาดเจ็บ จากการ เล่น ฟิตเนส และอาการเหล่านี้ มีอะไรบ้าง จะมีวิธีดูแลตัวเอง เบื้องต้นอย่างไร และจะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ

 

ลักษณะของการบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ ที่พบใน ฟิตเนส ( Fitness ) ที่เกิดได้ ทั้งจากการ ออกกำลังกาย ประเภท คาร์ดิโอ ที่เน้นการพัฒนา ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ และปอด อย่างการ ปั่นจักรยานไฟฟ้า หรือ วิ่งบนลู่วิ่ง และการ ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความ แข็งแรง ของ กล้ามเนื้อ อย่างการ เล่นเวท โดยส่วนใหญ่แล้ว มักเป็น การบาดเจ็บ ในเรื่องของ โครงสร้าง ร่างกาย ที่เกิดจากการ ใช้งาน มากจนเกินไป หรือหนักเกินไป ซึ่ง อาการบาดเจ็บ ในการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ที่พบส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการ อักเสบ ของ กล้ามเนื้อ ที่เมื่อเกิดการ ฉีกขาด จากการ ใช้งาน ที่หนัก
  2. เส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการอักเสบ ของเส้นเอ็น ที่ยึดระหว่าง กล้ามเนื้อ กับกระดูก ( tendon )
  3. เส้นเอ็นยึดข้อฉีกขาด หรือเป็น การอักเสบ ของเส้นเอ็น ที่ยึดระหว่าง กระดูก กับกระดูก ( ligament ) นั่นเอง
  4. กระดูกที่รับน้ำหนัก มากจนเกินไป หรือมี แรงเครียด ต่อกระดูก มากเกินไป อาทิเช่น กระดูกขาหัก แบบเป็นรอย ( stress fracture ) จากการวิ่งอย่างหนัก และเกิดแรง กระแทกซ้ำ ๆ

 

เจ็บแล้ว ต้องทำอย่างไร?

หากคุณไม่ได้ ออกกำลังกาย มานานพอสมควร เมื่อกลับมา ออกกำลังกาย อีกครั้ง และรู้สึก ปวดเมื่อย เนื้อตัว อาการแบบนี้ ไม่ถือว่าเป็น การบาดเจ็บ แต่เป็นกลไก ตอบสนองของ ร่างกาย ตามปกติ ซึ่งอาการนี้ จะหายไปได้เอง ภายใน 2 - 3 วัน แต่ถ้าหากเป็น การบาดเจ็บ จริง ๆ ต้องประกอบด้วย อาการปวด บวมผิว บริเวณ ที่เจ็บมีสีแดง และเมื่อแตะแล้ว รู้สึกร้อน กว่าบริเวณใกล้เคียง ให้คุณไปพบแพทย์ จะเป็นการดี ที่สุด

ระหว่างที่ยังบาดเจ็บ จากการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) อยู่ ไม่ควรทำกิจกรรมใด ๆ ที่จะทำให้ บาดเจ็บซ้ำ ที่เดิม เพราะจะทำให้ โอกาสหายน้อยลง หรือต้องใช้เวลานานขึ้น กว่าจะหาย ฉะนั้นแล้ว ควรรอให้อาการหายสนิท แล้วจริง ๆ แต่คุณก็ยังสามารถ ออกกำลังกายในส่วนอื่น ๆ ที่ไม่บาดเจ็บได้ อาทิเช่น เจ็บแขน ก็ให้เลือก ออกกำลังกาย ที่ใช้ขาแทน หรือเจ็บขา ก็ ยกเวท แขนไปก่อน เป็นต้น

 

การบาดเจ็บ จากการเล่น ฟิตเนส ( Fitness ) ป้องกันได้

อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเอง จากอาการบาดเจ็บ ย่อมดีกว่า การรักษาตัว โดยที่เราสามารถป้องกัน อาการบาดเจ็บ นั้นได้ โดยการ อบอุ่นร่างกาย ก่อน ( Warm up ) และหลัง ( Cool down ) การ ออกกำลังกาย ทุกครั้ง โดยใช้เวลา อย่างน้อย 5 - 10 นาที ระหว่างการ Warm up และ Cool down ให้ ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมด้วย โดยใช้เวลา ประมาณ 3 นาที เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ของ กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ต่าง ๆ  แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับแรงต้าน ระยะเวลา และความถี่ ของการ ออกกำลังกาย และพักจากการ ออกกำลังกาย บ้าง สัปดาห์ละ 1 - 2 วัน เพื่อให้ ร่างกาย ฟื้นตัว และที่สำคัญ ไม่ควร ออกกำลังกาย หนัก และต่อเนื่อง เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ ร่างกาย ของเรา นั้น ล้าจนเกินไป

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เครื่องเล่นออกกำลังกาย ใน ฟิตเนส ที่ช่วย เบิร์นไขมัน

เคล็ดลับลดอาการ ปวดเมื่อย หลัง ออกกำลังกาย

 



บทความที่น่าสนใจ

ความเชื่อผิด ๆ ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ฟิตเนส
ออกกำลังกาย ให้ ฟิต & เฟิร์ม ช่วง โควิด 19